โรคมือ เท้า ปาก ภัยอันตรายในเด็ก ที่ผู้ใหญ่ก็ไม่ควรมองข้าม

โรคมือ เท้า ปาก เป็นหนึ่งในโรคติดเชื้อไวรัสที่มักระบาดในกลุ่มเด็กเล็ก โดยเฉพาะในสถานรับเลี้ยงเด็กและโรงเรียนอนุบาล โรคนี้แม้จะมีอาการไม่รุนแรงในบางราย แต่ก็สามารถนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายได้ ซึ่งทำให้ผู้ปกครองและบุคลากรทางการแพทย์ต่างต้องให้ความสำคัญกับการเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาด ความเสี่ยงในการติดโรคมือ เท้า ปาก เพิ่มสูงขึ้นในช่วงฤดูฝนและในพื้นที่ที่มีการรวมตัวของเด็กจำนวนมาก บทความนี้จะกล่าวถึงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจส่งผลให้เกิดโรคมือ เท้า ปาก รวมถึงวิธีการป้องกันและลดโอกาสในการติดเชื้อ เพื่อให้ครอบครัวและสังคมมีความพร้อมในการดูแลและปกป้องสุขภาพของเด็ก ๆ
1. รู้จัก โรคมือ เท้า ปาก คืออะไร? อาการเป็นอย่างไร?
โรคมือเท้าปาก (Hand Foot Mouth Disease)
เป็นโรคติดต่อชนิดหนึ่ง ที่พบได้บ่อยในช่วงฤดูฝน สาเหตุของโรคมือเท้าปาก คือเกิดจากเชื้อไวรัส Enterovirus 71 (EV71) Coxsackie โดยจะติดต่อกันได้ง่ายทางน้ำลาย ด้วยการรับเชื้อทางแผลในปาก หรือการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัส

โดยเมื่อผู้ป่วยได้สัมผัสเชื้อแล้ว เชื้อจะมีระยะฟักตัวเป็นเวลา 3 – 6 วัน หลังจากนั้นผู้ป่วยจะเริ่มแสดงอาการ ซึ่งอาการของโรคมือเท้าปากในเด็ก กับในผู้ใหญ่ จะมีความแตกต่างกัน ดังต่อไปนี้

โรคมือ เท้า ปาก ในเด็ก
เรียกได้ว่าเป็นกลุ่มผู้ป่วยส่วนใหญ่เลยก็ว่าได้ สำหรับอาการของโรคมือ เท้า ปาก ในเด็ก นั้นก็มักจะพบบ่อยในเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 5 ปี ผู้ป่วยเด็กเล็กจะเสี่ยงอาการรุนแรงมากกว่าเด็กโต โดยอาการของโรคมือเท้าปากในช่วงเริ่มต้นคือ ผู้ป่วยจะเริ่มมีไข้สูงติดต่อกันเป็นเวลา 3 – 4 วัน จากนั้นจะเริ่มมีตุ่มน้ำใสขึ้นตามฝ่ามือ ฝ่าเท้า ในช่องปาก และมีผื่นขึ้นที่ขาทั้ง 2 ข้าง ในบางรายจะมีอาการเจ็บที่ส่งผลกระทบให้รับประทานอาหารไม่ได้ และมีน้ำลายไหล โดยอาการเหล่านี้มักจะหายเองภายใน 1 สัปดาห์

โรคมือ เท้า ปาก ในผู้ใหญ่
อาการของโรคมือเท้าปากในผู้ใหญ่ จะเริ่มต้นจากการมีไข้ รู้สึกปวดเมื่อยตามตัว และมีแผลในบริเวณช่องปาก มีตุ่มน้ำขึ้นบริเวณมือและเท้า โดยอาจมีผื่นขึ้นตามร่างกายในผู้ป่วยบางราย หากอาการไม่รุนแรงมาก ไข้จะเริ่มลดและหายในช่วง 1 สัปดาห์ ส่วนตุ่มน้ำและผื่นก็จะค่อย ๆ หายตามไป แต่ในบางรายที่มีอาการรุนแรง อาจเสี่ยงเป็นโรคแทรกซ้อนอย่าง โรคเยื่อหุ้มสมอง/เนื้อสมองอักเสบ หรือโรคหัวใจอักเสบ ก็มีโอกาสเกิดได้เช่นกัน

2. สังเกตอาการโรคมือ เท้า ปาก ที่เข้าข่ายเสี่ยง และควรปรึกษาแพทย์
อย่างที่กล่าวไปในข้างต้นว่า โรคมือเท้าปาก เป็นโรคติดต่อที่สามารถดูแลตามอาการและหายได้เองในช่วงเวลาไม่นาน แต่ในผู้ป่วยบางราย ก็พบว่ามีอาการรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ หากคุณคือผู้ป่วย หรือผู้ใกล้ชิดผู้ป่วย แนะนำให้สังเกตอาการ หากพบว่ามีอาการดังต่อไปนี้ อาจกำลังอยู่ในภาวะเสี่ยง ควรรีบนำตัวผู้ป่วยพบแพทย์โดยเร็วที่สุด

  • มีไข้สูงกว่า 39 องศาเซลเซียส นานกว่า 2 วัน
  • มีอาการเหนื่อย หอบ แม้ไม่ได้ออกแรง
  • ไม่มีความอยากอาหาร ทานอาหารไม่ได้เลย
  • ง่วงซึม นอนหลับทั้งวัน อ่อนเพลีย
  • มีอาการพูดเพ้อ หรือพูดไม่รู้เรื่อง
  • ปวดศีรษะมาก
  • ปวดต้นคอ คอแข็ง
  • อาเจียนบ่อย มากกว่า 3 ครั้ง/วัน
  • แขน – ขา อ่อนแรง เคลื่อนไหวร่างกายลำบาก
  • มีอาการผวาหรือกระตุก แขนหรือมือสั่น ที่แตกต่างจากตอนปกติ

3. วิธีรักษาอาการ โรคมือ เท้า ปาก กี่วันหาย?
ในปัจจุบัน ยังไม่มีการรักษาโรคมือเท้าปาก แบบเฉพาะทาง เนื่องจากเป็นอาการที่ส่วนใหญ่สามารถหายได้เอง การรักษาจึงเป็นการรักษาตามอาการโดยทั่วไปของผู้ป่วย แพทย์จะพิจารณาจากอาการของผู้ป่วยและดูแลตามลักษณะอาการ เพื่อให้ร่างกายสามารถฟื้นฟูกลับมาเป็นปกติได้โดยเร็ว เช่น ในผู้ป่วยเด็กที่ทานอาหารไม่ได้ แพทย์อาจมีการให้อาหารหรือน้ำเกลือทางเส้นเลือด และดูแลความสะอาดเพื่อป้องกันแผลติดเชื้อ และมีการให้ยาปฏิชีวนะตามอาการ

สำหรับคนที่สงสัยว่าโรคมือเท้าปาก กี่วันหาย คำตอบคือ ในกรณีที่ผู้ป่วยอาการไม่รุนแรง อาการจะดีขึ้นเองในช่วง 1 สัปดาห์ เพียงแต่ต้องดูแลความสะอาด ทานยาตามอาการไปจนกว่าจะหาย แต่สำหรับผู้ป่วยที่พบว่ามีอาการรุนแรง ตามที่ได้ระบุไปข้างต้น อาจมีอาการป่วยนานกว่า แนะนำให้พบแพทย์เพื่อทำการรักษาได้อย่างถูกวิธี และหายจากอาการป่วย กลับมาเป็นปกติโดยเร็ว

4. ป้องกันตัวเองจากโรคมือ เท้า ปาก ต้องทำอย่างไร?
สำหรับผู้ที่ไม่ได้มีอาการใด ๆ แต่บังเอิญได้ใกล้ชิดกับผู้ป่วย หรือต้องการหาแนวทางป้องกันโรคเอาไว้แต่เนิ่น ๆ เพื่อความสบายใจ สามารถปฏิบัติตามแนวทางต่อไปนี้ เพื่อป้องกันตัวเองจากโรคมือเท้าปากได้เลย

ดูแลความสะอาด สุขอนามัยต่าง ๆ
ความสะอาด เป็นปัจจัยสำคัญของการป้องกันเชื้อโรคต่าง ๆ โดยเฉพาะโรคที่ติดต่อได้จากการสัมผัสสารคัดหลั่งต่าง ๆ ที่มาจากร่างกายของผู้ป่วย เพราะเราไม่รู้เลยว่า สิ่งของที่เราสัมผัสนั้นจะมีเชื้อโรคอะไรเกาะอยู่บ้าง หากก่อนหน้านี้มีผู้ติดเชื้อมาสัมผัส ก็มีโอกาสที่เราจะรับเชื้อต่อได้ เพราะฉะนั้น การดูแลรักษาความสะอาดจึงช่วยได้ ไม่ว่าจะเป็น

  • ล้างมือบ่อย ๆ และล้างมือด้วยสบู่เมื่อเข้าห้องน้ำ
  • รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ สะอาด ใช้ช้อนกลางเมื่อต้องทานร่วมกับผู้อื่น
  • สวมใส่หน้ากากอนามัย เมื่ออยู่ท่ามกลางคนเยอะ
  • เช็ดทำความสะอาดสิ่งของที่สัมผัสบ่อย ๆ หรือบริเวณที่ใช้งานเป็นประจำ เพื่อลดการสะสมของเชื้อโรค

ฉีดวัคซีนป้องกันโรคมือเท้าปาก
อีกหนึ่งวิธีป้องกันโรคมือเท้าปากก็คือการฉีดวัคซีน โดยจะเป็นวัคซีนที่ต้านเชื้อ Enterovirus 71 ซึ่งเป็นเชื้อหลักที่ทำให้เกิดโรคมือเท้าปาก และเป็นเชื้อที่ทำให้อาการมีโอกาสที่จะรุนแรงขึ้นได้ สำหรับผู้ที่ต้องการฉีดวัคซีน อายุที่เหมาะสมคือตั้งแต่ 6 เดือน – 5 ปี แต่ถ้าอายุเกินแล้ว ก็สามารถปรึกษาแพทย์ เพื่อหาแนวทางรับวัคซีนที่เหมาะสมได้

การป้องกัน โรคมือ เท้า ปาก เริ่มต้นได้จากการดูแลสุขอนามัยที่ดี รวมถึงการหลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วยและไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกัน นอกจากนี้ การสังเกตอาการและรับการตรวจรักษาอย่างทันท่วงทีหากมีความผิดปกติจะช่วยลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดได้มาก การดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้คุณและคนที่คุณรัก ห่างไกลจากโรคมือ เท้า ปากและมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข

เพราะความเจ็บป่วยเป็นสิ่งที่ควบคุมไม่ได้ แต่เลือกที่จะวางแผนรับมือได้ ด้วย ประกันสุขภาพ จากเมืองไทยประกันชีวิต #เพราะชีวิตทุกวัยมันเจ็บป่วย ป่วยเล็กป่วยใหญ่ ช่วงวัยไหนก็ป่วยได้ไม่ช็อตฟีล

ปล่อยจอยค่ารักษาเพราะมีประกันสุขภาพดูแลให้แบบเหมา ๆ ตั้งแต่ 2 แสน – 100 ล้านบาท

✅ Elite Health Plus คุ้มครองค่ารักษา 20-100 ล้านบาทต่อปี ครอบคลุมเทคโนโลยีการรักษา ดูแลให้ทั้ง IPD และ OPD(1) เบี้ยวันละไม่ถึง 157 บาท(2)

✅ D Health Plus คุ้มครองค่ารักษา 5 ล้านบาท(3) นอนห้องเดี่ยวมาตรฐานทุก รพ. เบี้ยวันละไม่ถึง 38 บาท(4)

✅ เหมาจ่าย Extra แอดมิตเข้า รพ. ดูแลค่ารักษาเหมาจ่าย 5 แสนบาท(5) เบี้ยวันละไม่ถึง 42 บาท(6)

รายละเอียดเพิ่มเติม

☑️ โทร.1766 ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง

☑️ ติดต่อตัวแทนประกันชีวิต

(1) กรณีเลือกความคุ้มครองแผน 40, 75 หรือ 100 ล้านบาท

(2) สำหรับผู้เอาประกันภัยอายุ 50 ปี แผน 20 ล้านบาท พื้นที่ความคุ้มครองประเทศไทย และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี

(3) กรณีเลือกความคุ้มครองแผน 5 ล้านบาท โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาครั้งใดครั้งหนึ่ง

(4) สำหรับผู้เอาประกันภัยเพศหญิง อายุ 34 ปี เลือกแผนความคุ้มครอง 5 ล้านบาท มีความรับผิดส่วนแรก 30,000 บาท ต่อการเข้าพักรักษาตัวครั้งใดครั้งหนึ่ง (แผน Top Up ความคุ้มครอง) และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี

(5) กรณีเลือกความคุ้มครองแผน 3 โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบผู้ป่วยในครั้งใดครั้งหนึ่ง

  • เงื่อนไขความคุ้มครองเป็นไปตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์
  • สัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพต้องซื้อแนบท้ายกรมธรรม์ที่มีผลบังคับอยู่
  • ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
  • เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
  • เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิต กำหนด
  • การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
  • โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย

ที่มา สืบค้น ณ วันที่ 11/11/2567

🔖โรงพยาบาลพญาไท
🔖โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

กรุณากรอกข้อมูลเพื่อให้เราติดต่อกลับ

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *